ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
1. สภาพทั่วไปของสถานศึกษา
1.1 ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนครหลวง
1.2 ที่ตั้ง/การติดต่อ กศน.อำเภอนครหลวง
หมู่ที่ 5
ถนน นครหลวง – ท่าเรือ
ตำบล นครหลวง
อำเภอ นครหลวง
จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รหัสไปรษณีย์ 13260
โทร. 0-3525-9205
E-mail :
[email protected]
1.3 สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
2. ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
2.1 ประวัติสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนครหลวง เป็นสถานศึกษาในราชการส่วนกลาง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้รับจัดตั้งโดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ต่อมากรรมการศึกษานอกโรงเรียนได้มีคำสั่งที่ 94/2537 ลงวันที่ 18 มกราคม 2537 แต่งตั้งให้ นายพรเทพ ทัศนสุวรรณ ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนครหลวง โดยใช้อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอนครหลวงเป็นที่ทำการ
ทำเนียบผู้บริหาร
ปี พ.ศ.2537 นายพรเทพ ทัศนสุวรรณ ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนครหลวง
ปี พ.ศ.2539 นายวีระวัชร์ สุนทรนันท์ ดำรงตำแหน่งผู้บริหารศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนครหลวง
ปี พ.ศ.2548 นางพรทิพย์ จันทรวิเชียร ดำรงตำแหน่งผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนครหลวง
ปี พ.ศ.2555 นางอำพรศิลป์ ลิมาภิรักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนครหลวง
ปี พ.ศ.2556 นางบุญธิดา จิตต์ภักดี ดำรงตำแหน่งผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนครหลวง
ปี พ.ศ.2558 นางพรทิพย์ จันทรวิเชียร ดำรงตำแหน่งผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนครหลวง
ปี พ.ศ.2560 นางเพ็ญพิศ หิงประโคน รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนครหลวง
ปี พ.ศ.2560 นายพิฆเนศ ธนะนู ดำรงตำแหน่งผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนครหลวง
ปี พ.ศ.2562 นายบุญรอด แสงสว่าง รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนครหลวง
ปี พ.ศ.2563 นายสวัสดิ์ บุญพร้อม ดำรงตำแหน่งผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนครหลวง จนถึงปัจจุบัน
2.2 อาณาเขต
อำเภอนครหลวง เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 16 อำเภอ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ว่าการอำเภอนครหลวงตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก มีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 18 กิโลเมตร มีพื้นที่ 198.8 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าเรือ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอภาชี และอำเภออุทัย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางปะหัน
2.3 สภาพชุมชน
2.3.1 ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
อำเภอนครหลวง มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินดี ไม่มีป่าไม้และภูเขา มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านคือ แม่น้ำ
ป่าสัก มีคู คลอง จำนวนมาก เหมาะแก่การทำการเกษตร สามารถทำนาได้ตลอดทั้งปี มีการคมนาคมที่สะดวก
จึงเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คือ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม หัตถกรรมและค้าขาย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มี 3 ฤดู มีอุณหภูมิปกติระหว่าง 13 – 34 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม
2.3.2 การปกครองและประชากร
อำเภอนครหลวง มีการปกครองลักษณะท้องถิ่น ดังนี้
เทศบาล 2 แห่ง ได้แก่
1. เทศบาลตำบลนครหลวง
2. เทศบาลตำบลอรัญญิก
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 6 แห่ง ได้แก่
1. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชุ้ง
2. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา
3. องค์การบริหารส่วนตำบลปากจั่น
4. องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสะแก
5. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง
6. องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง
2.3.3 สภาพทางเศรษฐกิจ
1. อาชีพหลัก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนาและแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม การทำมีดและเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
2. อาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ การประมง การปลูกผักพื้นบ้าน
3. ธนาคาร มี 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และ ธนาคารกรุงเทพ
4. โรงสีข้าว จำนวน ๒ แห่ง
5. นิคมอุตสาหกรรม จำนวน 1 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร
2.3.4 สังคม
1. สถานศึกษาระดับมัธยม จำนวน 2 แห่ง
2. สถานศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 19 แห่ง
3. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
4. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 13 แห่ง
6. ห้องสมุดประชาชนอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
7. สถานีตำรวจภูธร จำนวน 2 แห่ง
8. วัด จำนวน 42 แห่ง
9. โรงพยาบาลประจำอำเภอ 1 แห่ง
10. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน 12 แห่ง
11. สถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 1 แห่ง
12. สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด จำนวน 1 แห่ง
2.3.5 ด้านวัฒนธรรม และประเพณี อำเภอนครหลวง มีประชากรที่ประกอบด้วย ชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายลาว (ลาวเวียงจันทน์) เป็นที่มาของวัฒนธรรมและประเพณีตามวิถีชีวิต ดังนี้
- ประเพณีไหว้ครู – บูชาเตา
- ประเพณีการทำขวัญข้าว
- การเล่นเพลงเรือ